การเสาวนามะพร้าวส่งออก

การเสวนามะพร้าวส่งออก

สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร​ สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ชมรมอนุรักษ์​และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่ง​ประเทศไทย​และเคหการเกษตรได้จัดเสวนาเกี่ยวกับมะพร้าวส่งออกใน 2 หัวข้อ เมื่อวันที่​ 22​ สิงหาคม​2565 โดยมีรองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ดร.สมบัติ ตงเต๊า ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการเสวนาฯ ณ​ ห้องประชุมสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร คือ
1 ส่งออกมะพร้าวน้ำหอมไม่มี GAPไม่ได้แล้ว
2 GAP monkey free plus สำหรับมะพร้าวแกงส่งออก
โดยในช่วงแรกเป็นการเสวนาเรื่อง GAPไม่มีไม่ได้แล้ว เจ้าของล้งส่งออกทั้ง 2 ราย. (บริษัทเอแอนด์เจมะพร้าวไทย และมังกรทิพย์)ได้ให้ข้อมูลความต้องการมะพร้าวของตลาดโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน จากนั้นคุณชัยสิทธิ์ รินเกลื่อน หัวหน้าด่านตรวจพืชแหลมฉบังพูด เรื่อง e-phyto ตามด้วย ผอ. ดาวรุ่ง คงเทียน ผอ.ศวพ ราชบุรี ได้รายงานผลการตรวจ GAP แปลงมะพร้าวของพื้นที่จังหวัดราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร คุณดวงสมร พฤฑฒิกุล เกษตรจังหวัดราชบุรี รายงานภาพรวมของการผลิตมะพร้าวในจังหวัดราชบุรีจากนั้น คุณจรัญเจริญทรัพย์ เกษตรกร แปลงใหญ่ซึ่งได้พาเกษตรกรมาด้วยหลายคนได้พูดถึงความพร้อมของเกษตรกรในขอรับการตรวจแปลง
ช่วงที่ 2 เป็นเรื่องผลิตภัณฑ์มะพร้าวกะทิ มีอุปสรรคในการส่งออกไปขายในห้าง โดยเฉพาะที่ประเทศทางยุโรปและอเมริกายโดยอ้างว่าไทยใช้ลิงเก็บมะพร้าวเป็นการทรมานสัตว์ ซึ่งทางคุณเกียรติศักดิ์ เทพผดุงพร สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ได้ให้ข้อมูล จากนั้น คุณพิทยวัฒน์ อ่อนทองหลาง ผอ. กพม กรมวิชาการเกษตรได้ชี้แจงถึงร่างมาตรการต่างๆ ที่กรมวิชาการเกษตร คิดและพยายามช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ส่งออก คุณวิไลวรรณ ทวิชศรี ผอ.ส่วนพืชสวนอุตสาหกรรม สวส.ได้ชี้แจงมาตรการเพื่อสนับสนุนเกษตรกรในการทำ GAP Monkey Free Plus ของกรมวิชาการเกษตรซึ่งจะช่วยรับรองให้เกิดความมั่นใจตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการมะพร้าวโดยไม่ใช้ลิงได้
นอกจากการสนับสนุนการรับรอง GAP Monkey Free Plus ให้ได้อย่างรวดเร็ว เพียงพอต่อตลาดส่งออกแล้ว กรมวิชาการเกษตรสนับสนุนการตรวจแปลง GAP ให้มะพร้าวน้ำหอมที่มีศักยภาพการส่งออกสูงคาดว่าถึงกว่าปีละ 35,000 ล้านบาท ให้เกษตรกรได้รับการรับรองเช่นเดียวกับมะพร้าวแกง โดยขอให้สมาคมพืชสวนฯ ส่งรายชื่อเกษตรกรที่ต้องการขอรับรองมาตรฐาน ส่งให้กรมวิชาการเกษตร เพื่อดำเนินการให้โดยเร็ว และรับข้อเสนอไปพิจารณาหาแนวทางการรับรองที่รวดเร็วให้แก่เกษตรกรที่มีการผลิตได้คุณภาพมาแล้วอย่างต่อเนื่อง เช่น ลดจำนวนและขั้นตอนเอกสาร ลดขั้นตอนการตรวจแปลง การยืดอายุใบรับรองจาก 3 ปีเป็น 5 ปี เป็นต้น
การเสวนามะพร้าวนี้เน้นการทำงานร่วมกันทุกภาคส่วนเพื่อลดปัญหาอุปสรรค ด้าน สุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและลดอุปสรรคการส่งออกมะพร้าวและผลิตภัณฑ์ค่ะ
ขอเป็นกำลังใจให้เกษตรกร ผู้ส่งออกและเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรทุกๆท่านนะคะ มาดูบรรยากาศกันค่ะ