ความกังวลของ นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย…
จากการที่มีนักวิชาการและเกษตรกร ซึ่งทั้งสองท่านก็เป็นน้องที่น่ารักและชอบพอกันมานาน ได้นำเสนอปรากฎการณ์ที่มีข้อสังเกต จากที่พบว่าทุเรียนผลเดียวกันในแต่ละดู
นั้นเนื่อผลจะสุกไม่พร้อมกันมีปรากฎให้พบเห็นได้ และจากการพยายามปราณีตในการเก็บละอองเกสรเพศผู้ แล้วบรรจง แตะผสมลงบน ลูบเนินของปลายยอดเกสรดอกเพศเมีย(stigma) โดยนำเกสรจากดอกเพศผู้แต่ละสายพันธุ์มาบรรจงแตะผสมลงไปในแต่ละลูบเนิน ที่มีทั้งหมด 5 ลูบเนิน นั้น ผลทุเรียนที่ผสมและติดผลแล้ว มี5พูของผลทุเรียนในผลเดียวกัน ก็น่าจะได้ทุเรียนพันธุ์ต้นแม่คือดอกเพศเมียดอกนั้น จะมีละอองเกสรจากดอกเพศผู้ ต่างกัน5พันธุ์ ดังนั้นทุเรียนผลนั้นจึงเสมือน ลูกจากแม่เดียวมี5พ่อ นั่นเอง โดยทั้งนี้นั้น ในทางวิชาการ พบว่าอิทธิพลของเกสรเพศผู้จะมีผลต่อเนื้อผลของผลไม้ได้ ซึ่งมีทั้งในทางที่ดี หรือด้อยไปจากลักษณะจำเพาะของพันธุ์ต้นแม่ก็ย่อมได้ เราเรียก ว่าเดชบิดร หรือ Xenia effects…โดยความเป็นจริงนั้น เนื่องด้วยในขณะนี้ได้มีการเผยแพร่ การดำเนินการในแบบนี้มากว่า1 ปีแล้ว…ผลที่ได้รับคือในเชิงผู้บริโภคที่สนใจ เชื่อถือได้หรือไม่ยังเป็นคำถามในใจ..ขณะเดียวกันการคุ้มครองผู้บริโภคก็มีกฏหมายรองรับ ผู้บรรจงสร้างสรรค์ นั้นแม่นยำและมีมาตรฐานที่เชื่อถือได้ สำหรับผู้ประสงค์ทำการตลาดหรือไม่? และกรรมวิธีที่ดำเนินการนั้นชี้ชัดหรือไม่ว่าเป็นจริง และแนวทางพัฒนาเพื่อให้ผู้ที่คิดจะดำเนินการพัฒนาต่อเนื่องมีแนวทางแล้วมากน้อยอย่างไร เช่นเครื่องที่เหมาะสม การเก็บละอองเกสรเพศผู้ ช่วงเวลา และวิธีการที่ชัดเจน
การพิสูจน์ ระยะเวลา ที่ปลายยอดเกสรเพศเมียพร้อมผสมและยาวนานอย่างไร ละอองเกสรเพศผู้งอกลงไปผ่านท่อในก้านเกสรเพศเมียแยกกันลงไปในแต่ละพูของรังไข่ได้อย่างไร มีปัจจัยอะไร ทำควรระวัง เมล็ดจากผลทุเรียนในแต่ละพูสามารถพิสูด้วยเทคโนโลยีทางพันธุ์ศาสตร์ ได้อย่างไรว่ามาจาก เกสรเพศผู้แต่ละสายพันธุ์นั้นจริงๆ
สมาคมฯนั้นทั้งดีใจและห่วงใยในการสรรค์สร้างสิ่งใหม่ๆในวงการเกษตรไทยและด้วยความปรารถนาที่ดีและได้รับความเคารพรักจากทั้งนักวิชาการและเกษตรกรที่เป็นเพื่อนรุ่นน้องที่รักกันมานาน ได้เชิญพวกท่านเกล่านั้น และเชิญผู้เชี่ยวชาญผู้ทรงคุณวุฒิ
ตลอดจนอาจารย์และนักวิชาการ ได้มาพบปะหารือ กันที่สมาคมเมื่อกว่า 1ปีที่ผ่านมา และได้นำพาคณะไปยัง สำนักงาน สวก.เพื่อให้กลุ่มนักวิชาการและชาวสวนได้พบหารือเพื่อพัฒนาโครงการวิจัย เพื่อการพิสูจน์และพัฒนาแนวทางในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
..แก่วงการทุเรียนไทย..3เดือนกับกาเขียนโครงการ ซึ่งสมาคมต้องขอขอบพระคุณท่านนักวิชาการและชาวสวนเป็นอย่างมาก ที่ให้ความไว้วางใจแก่กระผมและสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย 6เดือนกับการรอคอย จากทางสำนักงาน สวก. จนอีก2เดือนเมื่อติดตามไปได้คำตอบว่า โครงการไม่เรียบร้อย ไม่ชัดเจน และไม่เคยมีจดหมายเชิญไปหารือใดไเพื่อปรับปรุงแก้ไขใดๆอย่างไรเลย….ผมต้องขอโทษบรรดานักวิชาการและอาจารย์ ตลอดจนชาวสวนทุเรียนที่ยินดีสนับการวิจัยโครงการนี้เป็นอย่างมาก…
…….ความสูงส่งของหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณจากภาษีประชาชนมาเพื่อสนับสนุนการวิจัยเพื่อการพัฒนาวงการเกษตรและเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้น ฤาสมาคมพืชสวนฯหรือกระผมในนาม ดร.สุนทร พิพิธแสงจันทรด้อยค่า เกินกว่าที่พวกท่านจะพิจารณาหารือ….ลำพังเงินทองค่าใช้จ่ายในการศึกษาเรื่องนี้ สมาคมพืชสวนฯเองนั้นมีเครือข่ายและเกษตรกร และภาคเอกชน ที่พร้อมสนับสนุนมากมาย แต่เพื่อมาตรผฐานทางวิชาการ และเพื่อเป็นการส่งไม้ต่อเชิงวิชาการ…ผมถึงได้ขอคงามกรุณาหยัง สวก.
ขออภัยท่านนักวิชาการ อาจารย์เกษตรกรชาวสวนทุกๆท่านในที่นี้
และขออภัยหากทาง สวก. จะรู้สึกไม่ดีกับข้อความนี้ แต่กรุณาระลึกถึงความรู้สึกของผมตลอด1ปีที่ผ่านมาครับ..