การสัมมนาเรื่อง “การจำกัดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ทำไม? ใครได้-ใครเสีย? มีทางออกหรือไม่?
ภาพผู้เข้าร่วมการสัมมนา
นายอนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย กล่าวเปิดการสัมมนา
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย บรรยายเรื่อง การผลิตและการส่งออกสินค้าเกษตรไทยยัง (ต้อง) ไปต่อ
Dr.Harvey Glick ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและวิทยาศาสตร์ ภูมิภาคเอเชีย บริษัทมอนซานโต้ บรรยายเรื่อง Glyphosate Safety Updates (ไกลโฟเซตคืออะไร ปลอดภัยหรือไม่ ใครใช้?)
อภิปรายกลุ่มเรื่อง “การจำกัดการใช้ไกลโฟเสต ทำไม? ใครได้อะไร? มีทางออกหรือไม่?”
ดำเนินการอภิปรายโดย นายอนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย (กลาง) ดร. เมธินี ศรีวัฒนกุล ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย บริษัทมอนซานโต้ , นายนิวัติ ปากวิเศษ ประธานสหกรณ์ผู้ปลูกมะนาวบ้านแพ้ว-ดำเนินสะดวก จำกัด , นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย , นายปราโมทย์ ร่วมสุข ที่ปรึกษาหอการค้ากลุ่มภาคตะวันออก และนายเพิก เลิศวังพง อดีตประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (ชยสท.)
รายชื่อผู้เข้าร่วมการสัมมนา
เรื่อง “การจำกัดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ทำไม? ใครได้–ใครเสีย? มีทางออกหรือไม่?
วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน 2561
เวลา 08.30-16.30 น.
ณ ห้องประชุมใหญ่ กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร (อาคาร 8 ชั้น)
กรมวิชาการเกษตร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
***********************************************
วิทยากร
- ดร. อนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย
- คุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
- Dr. Harvey Glick ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและวิทยาศาสตร์ ภูมิภาคเอเชีย
บริษัทมอนซานโต้
- คุณอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย
- ดร. เมธินี ศรีวัฒนกุล ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย
บริษัทมอนซานโต้
- คุณนิวัติ ปากวิเศษ ประธานสหกรณ์ผู้ปลูกมะนาวบ้านแพ้ว-ดำเนินสะดวก จำกัด
- คุณเพิก เลิศวังพง อดีตประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (ชยสท.)
- คุณปราโมทย์ ร่วมสุข ที่ปรึกษาหอการค้ากลุ่มภาคตะวันออก
ที่ปรึกษา กรรมการ และสมาชิกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย
- คุณกนกรัตน์ สิทธิพจน์
- คุณกฤชกมล ทองเพ็ง
- คุณฉันทนา ชะระวณิช
- คุณประวิทย์ บุญประสพ
- คุณศุภเชษฐ์ บุญประสพ
- คุณสุภริน สุภาโสด
- คุณพยุง สุขถาวร
- คุณพรรณนีย์ วิชชาชู
- คุณพวงผกา คมสัน
- คุณโรเบิร์ต ดิกเซ็น
- คุณลิ้นจี่ บุญมาก
- คุณวิรัช จันทรัศมี
- คุณศิวศักดิ์ วานิชรักษ์
- คุณสุนิสา บุญญะปฏิภาค
- ดร. สุรพงษ์ โกสิยะจินดา
- คุณโอฬาร พิทักษ์
- คุณมนตรี คงตระกูลเทียน
- คุณวิโรจน์ หิรัญยูปกรณ์
- รศ. วิจิตร วังใน
- คุณลักขณา นะวิโรจน์
- รศ. ไพบูลย์ ไพรีพ่ายฤทธิ์
- คุณเยาวลักษณ์ โสภณสกุลแก้ว
- คุณชลธิชา ฮิงหลวง
หน่วยราชการ
- คุณกฤษฎิน คำตัน
- คุณกัญญา จันวิไชย
- คุณเกษม อนุพันธ์
- คุณจิรประวัติณ์ ไทยประสิทธิ์
- คุณณัฐพร เขียวสระคู
- คุณธาร นวลนึก
- คุณบุณยจิตต์ ศักดิ์ทีเหลา
- คุณประเสริฐ อามริต
- คุณพิกุล เกตุชาญวิทย์
- คุณไพศาล สังข์มงคล
- คุณมงคล จอมพันธ์
- คุณรังรอง วงศ์เดช
- คุณยอดธงไชย รอดแก้ว
- คุณรุ่งสิรินธร เสงี่ยมวิบูล
- คุณละออ เสร็จกิจ
- คุณวริศ มิ่งโมฬี
- คุณศิริชัย บัวทอง
- คุณเสนาะ ยิ้มสบาย
- คุณเสาวนีย์ เวชประพันธ์
- คุณฐิติพงษ์ มีมาก
- คุณลำดวน สระทองอินทร์
- คุณปราโมทย์ แย้มคลี่
- คุณกฤษณ์กมล เปาทอง
- คุณสุนาถ มนีพิทักษ์
- คุณนันทนา สิทธารถ
- คุณวิรัตน์ ธรรมบำรุง
- คุณวีระเดช พ่องชัย
- คุณปรัชญา เอกรัฐ
- คุณพรอนันต์ แข็งขันธ์
- คุณชวนพิศ อนุเสริฐวิหด
- คุณธำรง พันธุตะ
- คุณนิวัตน เพิงพูล
- คุณประคิน นัยเจริญ
- คุณอัคนีกูร กลิ่นนิรบ
หน่วยงานภาคเอกชน
- รศ. ดร. จวงจันทร์ ดวงพัตรา
- คุณชนิกา เอี่ยมสุภาษิต
- คุณชยาทิพย์ ฉันทกรชยานันท์
- คุณชวิดา วาทินชัย
- คุณเทพรส เนตรสุวรรณ
- คุณนิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
- คุณพิภัทร์ นิยมพฤกษ์
- คุณบุษณีย์ นุชรุ่งเรือง
- คุณบำรุง วงค์พินิจ
- คุณประภัทร์ พิศวงษ์
- คุณปราโมทย์ ติรไพรวงศ์
- นายกองเอกเปล่งศักดิ์ ประกาศเภสัช
- คุณพิเชษฐ์ กรุดลอยมา
- คุณวรินทร์สรา ศรีหาผลวรกิจ
- คุณวีรวุฒิ กตัญญูกุล
- คุณสิริพร โอวาทกิจ
- คุณสุพิชญา เหลืองธนาวัฒน์
- คุณสุภมาศ วัฒนทัพ
- คุณสุรศักดิ์ ศรีชุมพร
- คุณอมรา ไตรศิริ
- คุณสายวสันต์ มนตรีพาณิชย์
- คุณศิริพร วิริยะดีตระกูล
- คุณพิมพ์เดือน คุณนะสา
- คุณพายัพ จุลพันธ์
- คุณประสาท เกศวพิทักษ์
- คุณชาตรี พิทักษ์ไพรวัน
- คุณยุรวรรณ อโนตนมธี
- คุณธัญญารัตน์ พูลสวัสดิ์
- คุณดวงนภา เลิศกิจกวิน
- คุณประวิทย์ จตุรศรีวิไล
- คุณนิศากร บุญประคอง
- คุณรัฐวรรณ เฮงสีหาพันธ์
- ดร. วรณิภา นาควัชระ
- คุณนาฏยา ทักภิรมย์
- คุณสุวิรยา อายุเจริญ
- คุณชานน ชัยพุฒิ
- คุณเอกสรรค์ กิตติสท้านไตรภพ
สื่อมวลชน
- คุณพายัพ ยังปักษี
- คุณจันทร์แรม พุ่มกระจ่าง
- คุณชาติชาย ศิริพัฒน์
- คุณพันแสง เดชามาตน์
- คุณภิเษก ศรีสวัสดิ์
- คุณสมชาย ตั้งสีทอง
เกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา
- คุณกัญญารัตน์ สิทธินุสรณ์
- 2. คุณขจารินทร์ โคกสำโรง
- คุณธีระพงศ์ ชอบธรรม
- คุณนพนันท์ จันทวาส
- คุณนิกร พนาวัน
- คุณศิริชัย ด้วงเงิน
- คุณสุจิตรา มะสันเทียะ
- คุณสุธีรา ไขขุนทด
- คุณสุภาพ กลางเนตร
- คุณสุวรรณา จันทวาส
- คุณนุษยา เนื่องศรี
- คุณโสภิตา เฟื่องทอง
- คุณณัฎพร จ่าหมื่นไวย์
- คุณเกรียงศักดิ์ เถากลาง
เกษตรกรจังหวัดลพบุรี
- คุณสมศักดิ์ แย้มครวญ
- คุณบุญสม แย้มครวญ
- คุณสุทิน แย้มครวญ
- คุณทิพาเอ โปร่งแสง
- คุณสำอาง คุณาวัฒน์
- คุณถาวร จันทร์ตรี
- คุณฌบวช ไชยวุฒ
- คุณกำพล ชายทวีป
- คุณเสริม กองมิตรชัย
- คุณนริต แย้มครวญ
เกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี
- คุณกิตติพันธ์ ทวีวัฒนพงษ์
- คุณชาติ ศิลปทัสดี
- คุณอำนวย ลี้เด่นธรรม
- คุณธวัช เฮงตระกูล
- คุณวัลลท ดีเสมอ
- คุณสุรศักดิ์ ธัญญเจริญ
- คุณศิรินทร์ กาฬสดิ์
- คุณมานะ จิวสิทธิประไพ
- คุณทัศนีย์ เชาว์วิเศษ
- คุณสมศักดิ์ ศรีภูสิตโท
เกษตรกรจังหวัดสมุทรสาคร
- คุณมงคล สองประเสริฐ
- คุณวินัย ธีรทองดี
- คุณประลอง ชิ้นประกอบเกิด
- คุณตวงพร ชิ้นประกอบเกิด
- คุณเพ็ญศรี แดงสุนทรชัย
- คุณธนกร อุดมเจริญรัฐ
- คุณวิโรจน์ โพธิ์ทอง
- คุณสนิท สันติลักษณพันธ์
เกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- คุณสิทธิพร รัตนภิรมย์
- คุณนันท์นภัส ทองเผือก
- คุณจิตตพล วิชัยดิษฐ์
- คุณวรวิช เนาวโคอักษร
- คุณภาณุพงศ์ ขาววัด
- คุณภาณิดา ชูสุวรรณ์
- คุณศักดิ์ชัย ชูสุวรรณ์
- คุณสุมาตร อินทรมณี
- คุณวินัย กลิ่นมณี
- คุณทนงศักดิ์ แรงพิวงษ์
- คุณธวัช วรรณดี
- คุณนิตยา จันทร์โทบุญ
- คุณสุพรรณี เพ็ดจันทร์ทอง
- คุณบุญเสริม ไชยวงศ์
- คุณจุมพล มณีศรี
- คุณอาภาพร จันทร์โกมุท
- คุณกนกวรรณ ดุษฎี
- คุณอุไรวรรณ ส่งประเสริฐ
- คุณเจริญ แผนมณี
- คุณสุรินทร์ ธรรมบำรุง
- คุณณัฐพงษ์ ยังมณี
- คุณเจริญศรี ธรรมบำรุง
เปิดการสัมมนา เวลา 09.20 น.
พิธีเปิดการสัมมนา โดย ดร. อนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย
ดร. อนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงความเป็นมา และวัตถุประสงค์ของการจัดการสัมมนาเรื่อง “การจำกัดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ทำไม? ใครได้–ใครเสีย? มีทางออกหรือไม่?” ดังนี้
ตามที่ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ คณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ของ กระทรวงสาธารณสุข เสนอให้มี การจำกัดการใช้สารกำจัดวัชพืชไกลโฟเซต โดยมีเงื่อนไขข้อห้ามประกอบการจำกัดการใช้ คือ ๑) ห้ามใช้สำหรับเกษตรกรในพื้นที่สูงและพื้นที่ต้นน้ำ ๒) ห้ามใช้ในบริเวณแม่น้ำ ลำคลอง และแหล่งน้ำในพื้นที่ใกล้เคียง ๓) ห้ามใช้ในพื้นที่สาธารณะ และ ๔) ห้ามใช้ในเขตชุมชน โดยอ้างอิงถึงข้อกังวลด้านสุขภาพ อาทิ องค์การอนามัยโลกกำหนดให้สารไกลโฟเซตเป็นสารที่น่าจะก่อมะเร็ง และสารไกลโฟเซตมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค ๒๒ ชนิด เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และอัลไซเมอร์ เป็นต้น เป็นข้อสนับสนุนให้มีการจำกัดการใช้
ข้อเสนอดังกล่าวนี้ ก่อให้เกิดความกังวลในหมู่เกษตรกรและนักวิชาการด้านการเกษตรว่า การจำกัดการใช้ไกลโฟเซตอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อประสิทธิภาพการกำจัดวัชพืช ซึ่งเป็นศัตรูพืชสำคัญที่มีผลต่อผลผลิตและต้นทุนของเกษตรกร และตลอดจนแนวทางการจัดการความเสี่ยงและผลกระทบต่อภาคเกษตรของไทย
ทั้งนี้ หลายปีที่ผ่านมา จะมีกลุ่มบุคคล องค์กรเอกชน พร้อมเครือข่าย ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบโดยออกมาต่อต้านการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลง สัตว์ ศัตรูพืช วัชพืช และปุ๋ยเคมี โดยอ้างถึงผลกระทบที่มีต่อสภาพแวดล้อม และผู้บริโภค โดยใช้ข้อมูลทางลบเพียงด้านเดียว โดยมิได้พิจารณาถึงผลกระทบต่อภาคการเกษตร แต่กลับมองภาคเกษตรและเกษตรกรไทยเป็นผู้ร้ายที่ก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อสภาพแวดล้อมและต่อผู้บริโภค
การประชุมสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “การจำกัดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ทำไม? ใครได้-ใครเสีย? มีทางออกหรือไม่?” ในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีนำเสนอข้อมูลวิทยาศาสตร์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการจำกัดการใช้ พร้อมทั้งนำเสนอข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรและภาคเกษตรของไทย บนพื้นฐานของความปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยมีเกษตรกร นักวิชาการด้านการเกษตร และผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมการสัมมนาจำนวนทั้งสิ้น ๑๗๒ ท่าน
การบรรยายเรื่อง “การผลิตและการส่งออกสินค้าเกษตรไทย ยัง (ต้อง) ไปต่อ”
โดย นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
ประเทศไทยมีค่านิยมของการย้อนยุคและยังขาดความรู้ความเข้าใจในบริบทของการเปลี่ยนแปลงและเป็นไปของยุคอนาคต ซึ่งแม้ว่าจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างล้ำสมัยเพียงใด เช่น รถไฟ Hyperloop ซึ่งเป็นระบบขนส่งความเร็วสูง หรือเทคโนโลยีเพื่อให้มนุษย์ใช้ชีวิตในดาวอังคารได้ แต่ในท้ายที่สุด มนุษย์ยังคงมีเป้าหมายเพื่อการมีสุขภาพกายใจและสติปัญญาที่เป็นเลิศและนำไปสู่ชีวิตที่ยืนยาว ดังนั้น การผลิตอาหารยังคงเป็นพื้นฐานที่สำคัญเมื่อเป้าหมายสู่ความเป็นนิรันดร์ของมนุษย์
คำถามคือ อาหารในอนาคตจะเป็นอย่างไร การหาคำตอบนี้เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อนำไปกำหนดทิศทางการเกษตรของประเทศไทย เพื่อให้ก้าวไปสู่อนาคต และเป็นสิ่งที่ควรนำมาพิจารณาทำความเข้าใจอย่างรอบคอบ
เราผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรไทยเพื่อใคร ให้ใคร โดยใคร หากคำตอบคือเพื่อความเป็นนิรันดร์ (มีชีวิตที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา) คำถามต่อไปคือ เราควรทำอย่างไรเพื่อไปสู่เป้าหมาย หากเราต้องการอาหารปลอดภัย วิธีการคือ การยกเลิกไม่ให้ใช้วัตถุมีพิษ หรือยกเลิกคนใช้วัตถุมีพิษ จะใช่คำตอบหรือไม่ หากเปรียบเทียบกับเป้าหมายการมีชีวิตรอดจากอุบัติเหตุ วิธีการคือการยกเลิกไม่ให้มีรถยนต์หรือยกเลิกคนขับรถยนต์ใช่หรือไม่
การนำประเทศไทยไปสู่การผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรไทยต่อไปในอนาคตได้นั้น มีปัจจัยที่สำคัญคือ การหาความรู้และขยายความรู้ไปสู่ภาคการเกษตร เริ่มจากความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานการผลิต โดยเข้าใจมาตรฐานที่เป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งนำไปสู่การผลิตที่ตรงตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับเพื่อย้อนกลับไปสู่การตัดสินใจโดยใช้ฐานความรู้และการวิจัยพัฒนา เพื่อให้การผลิตเป็นไปได้โดยมีการจัดการที่ดีและเหมาะสม นำไปสู่ผลผลิตที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน เมื่อเกิดความไม่แน่ใจในเรื่องตลาด เรื่องมาตรฐาน หรือการจัดการใด ๆ ในภาคการเกษตร ประเทศไทยควรใช้วิทยาศาสตร์มาเป็นฐานข้อมูลในการตัดสินใจด้านนโยบายหรือกฎหมาย โดยให้มีการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในกระบวนการพิจารณา เพื่อให้มั่นใจว่าผลการพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลความเป็นจริง และสามารถนำไปสู่ประโยชน์ และการใช้อย่างปลอดภัยได้มาตรฐานอย่างแท้จริง และไม่ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ในสายการผลิตรวมถึงการลงทุน การค้า และส่งออก เนื่องจากนโยบายที่ไม่ตรงตามมาตรฐานและข้อมูลวิทยาศาสตร์
การพิจารณานโยบายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในประเทศไทย เช่น กรณีไกลโฟเซต ที่กำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณาในขณะนี้ก็เช่นเดียวกัน ควรเป็นไปอย่างถูกต้องบนพื้นฐานข้อมูลวิทยาศาสตร์และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
การบรรยายเรื่อง Glyphosate Safety Updates (ไกลเซตคืออะไร ปลอดภัยหรือไม่ ใครใช้?) โดย Dr. Harvey Glick ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและวิทยาศาสตร์ ภูมิภาคเอเชีย บริษัทมอนซานโต้
ไกลโฟเซตเป็นสารที่กำจัดวัชพืชได้หลากหลายและไม่จำเพาะเจาะจงชนิดวัชพืชเป้าหมาย ไกลโฟเซตทำงานโดยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกรดอะมิโนจำเป็นของพืช ซึ่งเอนไซม์นี้ไม่พบในคนหรือสัตว์ จากข้อมูลงานวิจัยมากกว่า ๔๐ ปี ไกลโฟเซตมีคุณสมบัติทางพิษวิทยาในเกณฑ์ที่ดี เนื่องจากไม่เป็นพิษเฉียบพลัน ไม่ระคายเคืองผิวหนัง ไม่มีผลทางพันธุกรรม ไม่เป็นพิษต่อระบบประสาทและระบบภูมิคุ้มกัน ไม่เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ ไม่มีผลกระทบต่อระบบต่อมไร้ท่อ ไม่ทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด และไม่เป็นสารก่อมะเร็ง นอกจากนี้ ยังมีอัตราการถูกดูดซึมเข้าร่างกายต่ำ ถูกขับออกได้ทางปัสสาวะ และไม่สะสมในร่างกาย
ข้อมูลความปลอดภัยของไกลโฟเซตได้ผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานรับผิดชอบและองค์กรนานาชาติกว่า ๑๖๐ ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก โดยการพิจารณานี้มีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และได้ข้อสรุปตรงกันว่า ไกลโฟเซตมีความเป็นพิษต่ำ ไม่มีความเสี่ยงต่อมนุษย์ สัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อม เมื่อใช้ตามคำแนะนำที่อยู่บนฉลาก
ไกลโฟเซตถูกใช้อย่างกว้างขวางเพราะเป็นสารที่มีความเป็นพิษต่ำและไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากย่อยสลายได้และไม่ตกค้างในดิน นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ประโยชน์จากไกลโฟเซตได้หลากหลาย ทั้งในการกำจัดวัชพืชในภาคเกษตร ในสวนครัวเรือน หรือในอุตสาหกรรม เช่น การกำจัดวัชพืชที่ขึ้นขวางทางรถไฟ เป็นต้น จนได้รับการขนานนามจากนักวิจัยทางเคมีว่าเป็น “สารเคมีแห่งศตวรรษ”
เมื่อมีการนำเสนอข้อเรียกร้องให้จำกัดการใช้ไกลโฟเซต จึงได้มีศึกษาข้อมูลเรื่อง “การใช้ไกลโฟเซตและผลกระทบของการจำกัดการใช้ไกลโฟเซตในประเทศไทย” จัดทำโดย Dr. Graham Brookes จากบริษัท PG Economics ของสหราชอาณาจักร ผลการศึกษาวิจัยมีข้อมูลสำคัญคือ ไกลโฟเซตเป็นสารกำจัดวัชพืชที่สำคัญในประเทศไทย โดยในปี ๒๕๕๕ ประเทศไทยใช้ไกลโฟเซต ๑๕.๓ ล้านกิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ ๓๓ ของสารออกฤทธิ์ที่ใช้ในประเทศทั้งหมด โดยพืชที่นิยมใช้ไกลโฟเซต คือ ปาล์มน้ำมัน (ร้อยละ ๗๘) ยางพารา (ร้อยละ ๘๑) ผลไม้เมืองร้อน ข้าว ข้าวโพด และอ้อย และมีการรายงานผลการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่สำคัญถ้ามีจำกัดการใช้ (หรือยกเลิก) ไกลโฟเซต ดังนี้
๑) ต้นทุนสูงขึ้น เนื่องจากการกำจัดวัชพืชด้วยวิธีอื่นมีประสิทธิภาพน้อยกว่าและแพงกว่า
๒) ผลผลิตลดลง เนื่องจากเกษตรกรกำจัดวัชพืชได้น้อยลง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และได้ผลผลิตลดลง
๓) รายได้ลดลง เนื่องจากผลผลิตที่น้อยลงทำให้ผลิตอาหารได้น้อยลง ทำให้เกษตรกรเสียรายได้
จากสถานการณ์ในประเทศศรีลังกา รัฐบาลของประเทศศรีลังกาประกาศยกเลิกการใช้ไกลโฟเซต แม้ว่าคณะกรรมการด้านวิทยาศาสตร์ได้ให้ข้อมูลแก่รัฐบาลว่า ไกลโฟเซตมีความปลอดภัย นักเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในประเทศศรีลังกา จึงศึกษาและจัดทำรายงานเรื่อง “ผลกระทบจากการยกเลิกไกลโฟเซตในศรีลังกา: การประเมินจากภาคสนาม” โดยผลการศึกษาชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงว่า การยกเลิกการใช้ไกลโฟเซตในศรีลังกาทำให้เกิดผลต่อไปนี้
๑) ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอย่างมาก โดยร้อยละ ๙๐ ของเกษตรกรศรีลังกาต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งเกษตรกรรายย่อยนั้น ได้รับผลกระทบมากที่สุด
๒) การห้ามใช้นั้นไม่มีประสิทธิภาพและเป็นอันตรายต่อเกษตรกร เนื่องจากมีสารไกลโฟเซตปลอมเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ ๕๐ สินค้าในตลาดมืดมีราคาแพงขึ้นมากกว่า ๓ เท่า และไม่มีภาคส่วนใดรับผิดชอบเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าและสิ่งแวดล้อมจากการใช้สินค้าในตลาดมืด
๓) ผลผลิตลดลง เนื่องจากการจำกัดวัชพืชแบบอื่นมีประสิทธิภาพน้อยกว่า โดยร้อยละ ๓๕ ของผู้ปลูกข้าวโพด และร้อยละ ๒๔ ของผู้ปลูกใบชา ประสบปัญหาผลผลิตลดลง
๔) คุณภาพของผลผลิตลดลง และส่งผลกระทบต่อมาตรฐานการส่งออก เช่น ชาจากศรีลังกาที่ส่งไปประเทศญี่ปุ่น พบสารเคมีตกค้างเนื่องจากเกษตรกรต้องหันไปใช้สารเคมีอื่นที่ไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนดของญี่ปุ่น ทำให้ส่งผลต่อชื่อเสียงของใบชาซีลอนของศรีลังกา นอกจากนี้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดยังรายงานว่า ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพลดลงอีกด้วย
ดังนั้น จากพื้นฐานของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และข้อเท็จจริงเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า หากมีกระบวนการพิจารณาเพื่อกำหนดนโยบายหรือกฎระเบียบ เช่น การพิจารณาการกำจัดการใช้ไกลโฟเซตในขณะนี้ โดยขาดเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และข้อมูลรองรับจะทำให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกร ฉุดรั้งประเทศไทยในการสร้างความมั่นคงทางอาหารและการเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อสร้างความมั่งคั่งยั่งยืนแก่ภาคการเกษตรตามนโยบาย “ประเทศไทย ๔.๐” ขาดการจูงใจในการลงทุนจากภาคเอกชน และลดความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรไทย เทียบกับเกษตรกรจากประเทศอื่นที่สามารถเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีหรือสารเคมีเกษตรที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพได้
สรุปสาระสำคัญของการอภิปรายกลุ่มเรื่อง “การจำกัดการใช้สารไกลโฟเซต ทำไม? ใครได้-ใครเสีย? มีทางออกหรือไม่?”
การอภิปรายครั้งนี้ ดำเนินการอภิปรายโดย นายอนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย และมีผู้ร่วมอภิปราย คือ นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย นายเพิก เลิศวังพง อดีตประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (ชยสท.) นายนิวัติ ปากวิเศษ ประธานสหกรณ์ผู้ปลูกมะนาวบ้านแพ้ว-ดำเนินสะดวก จำกัด นายปราโมทย์ ร่วมสุข ที่ปรึกษาหอการค้ากลุ่มภาคตะวันออก และ ดร. เมธินี ศรีวัฒนกุล ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย บริษัทมอนซานโต้
นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ได้นำเสนอประสบการณ์ในการต่อสู้กับกระบวนการต่อต้านการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีอย่างเป็นระบบ ในการสร้างสถานการณ์และบิดเบือนข้อมูลให้สารเคมี และเกษตรกรเป็นผู้ร้าย เพื่อนำไปสู่การออกพระราชบัญญัติกองทุนส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรยั่งยืน ที่เคยดำเนินการในปี ๒๕๕๐ ซึ่งกำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีสารเคมีเกษตรและปุ๋ยเคมี โดยการต่อสู้นั้นอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องและเป็นธรรมแก่เกษตรกร จนกระทั่งรัฐบาลเข้าใจถึงผลกระทบและได้ยับยั้งการตราพระราชบัญญัติดังกล่าว ขณะนี้จากการนำเสนอข้อเรียกร้องของกลุ่มคนเดิม ๆ ในการให้ยกเลิกและจำกัดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ดูเหมือนว่าจะเป็นการหวนกลับมาของกระบวนการเดิม ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและภาคการเกษตรของประเทศโดยรวม สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย จึงจัดเวทีสาธารณะขึ้น เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งนี้ สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ได้เรียนเชิญ นพ. เสรี ตู้จินดา ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ของ กระทรวงสาธารณสุข และเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ไทย-แพน) เข้าร่วมการสัมมนาเพื่อรับฟังข้อมูลอย่างครบถ้วนทุกฝ่าย แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ทั้งสององค์กรไม่เข้าร่วมในการสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์และหาทางออกร่วมกันในครั้งนี้ด้วย
ประเด็นที่หยิบยกในการอภิปรายในครั้งนี้ คือ ทำไมจึงเรียกร้องให้จำกัดการใช้ไกลโฟเซต ดูเหมือนว่ากระบวนการต่อต้านการใช้สารเคมี โดยกลุ่มบุคคล องค์กรเอกชน และเครือข่ายเหล่านี้ จะย้อนรอยกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายซ่อนเร้นโดยใช้องค์กรที่อ้างว่าปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ หรือรักษาสิ่งแวดล้อมและปกป้องผู้บริโภค สร้างวาทกรรมบิดเบือนข้อมูลการใช้ปัจจัยการผลิต เช่น สารเคมี ปุ๋ยเคมี ว่าเป็นตัวการก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อพยายามให้ภาครัฐออกนโยบายและกฎหมายเพื่อยกเลิกและการจำกัดการใช้สารเคมี ๓ ชนิด รวมถึง ไกลโฟเซต ที่มีข้อมูลความเป็นพิษต่ำ และมีความจำเป็นในการใช้ประโยชน์ โดยเงื่อนไขในการกำจัดการใช้ในพื้นที่สูง บริเวณแหล่งน้ำ ในพื้นที่สาธารณะ และในเขตชุมชน เท่ากับการยกเลิกการใช้นั่นเอง การกระทำเช่นนี้ จะขยายไปสู่เรื่องสารเคมีอื่น ๆ ตามเจตนารมณ์เพื่อขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐไปสู่จุดหมายตามที่ต้องการ โดยเกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายภาครัฐไม่ได้มีการรับรู้และมีส่วนร่วมในการพิจารณา
นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ได้นำเสนอความกังวลเช่นเดียวกันว่า สารกำจัดวัชพืช เช่น ไกลโฟเซต มีการใช้อย่างแพร่หลายเป็นระยะเวลานานแล้ว ถ้ามีนโยบายจำกัดการใช้จะต้องมีข้อมูลรองรับทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และจะต้องมีข้อมูลเพื่อแนะนำเกษตรกรให้มีทางเลือกในการใช้สารอื่นที่ดีกว่า ถูกกว่า และปลอดภัยกว่ามาทดแทน เกษตรกรต้องการรับทราบข้อมูลข้อเท็จจริงว่า การพิจารณาการจำกัดการใช้สารเคมีอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลใด ปัญหาคืออะไร และมีผลกระทบเป็นอย่างไร เพื่อให้เกษตรกรรับทราบปัญหาและมีส่วนร่วมในการพิจารณาหาทางออกร่วมกัน อีกทั้งยังมีเวลาให้เกษตรกรได้เตรียมตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น หากเกษตรกรไม่ได้รับทราบ หรือมีส่วนร่วมในการพิจารณานโยบายของรัฐ เช่นในกรณีไกลโฟเซตนี้ เกรงว่าแทนที่รัฐจะหาทางออกในการแก้ไขปัญหาจะกลับกลายเป็นการนำปัญหาของรัฐมาสู่เกษตรกร หากมีความเสียหายเกิดขึ้นจากการประกาศนโยบาย แล้วมีการลักลอบนำเข้าสินค้าด้อยคุณภาพ ไม่ปลอดภัย มีราคาแพง ใครจะรับผิดชอบ ภาครัฐจะมีการชดเชยให้เกษตรผู้ได้รับความเสียหายได้อย่างไร
นายปราโมทย์ ร่วมสุข ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ภาครัฐควรหาข้อมูลให้ครบถ้วนทุกด้าน และข้อมูลที่ถูกต้องนี้ควรสื่อสารสู่เกษตรกรอย่างถูกต้องและเข้าถึงเกษตรกรแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรรับรู้ รับฟัง และใช้สารเคมีอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ในปัจจุบัน เช่นในกรณีไกลโฟเซต ยังขาดกระบวนการสื่อสารให้ข้อมูลถึงเกษตรกร เกษตรกรแต่ละพื้นที่ แต่ละภาคส่วนมีการผลิตที่แตกต่างกันตามความจำเป็นของแต่ละภูมิภาค การพิจารณานโยบายเพื่อออกกฎระเบียบนั้น ภาครัฐควรให้เกษตรกรและทุกภาคส่วนในแต่ละภูมิภาคได้ให้ความเห็น เพื่อให้นโยบายหรือกฎระเบียบนั้น ดูแลเกษตรกรอย่างถูกต้อง โดยไม่ปล่อยให้เกษตรกรเป็นผู้ถูกกระทำโดยไม่มีทางรับรู้และทางเลือก ภาครัฐควรมีเจ้าภาพที่ชัดเจนสำหรับการกำหนดนโยบายและกฎระเบียบของภาคการเกษตรจากหน่วยงานรัฐที่มีความรู้และเชี่ยวชาญด้านการเกษตรอย่างถูกต้องตามข้อมูลวิทยาศาสตร์และสภาพความเป็นจริง และประกอบกับการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบ จะนำไปสู่ทางออกร่วมกันได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม เช่นแนวทางในการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย ควรใช้แนวทาง GAP เพื่อดูแลต้นทุน ดูแลคนใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย ดูแลสภาพแวดล้อมให้ได้ผลผลิตที่ได้คุณภาพ ไม่มีสารตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ถ้าทางออกคือการห้ามใช้อะไรก็ตามที่คิดเอาว่าเป็นอันตราย เช่น คนใช้เชือกผูกคอฆ่าตัวตาย เราต้องห้ามการจำหน่ายเชือก นี่เป็นทางออกที่ถูกต้องหรือไม่
นายเพิก เลิศวังพง กล่าวว่า ครอบครัวทำการเกษตรมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ และจำเป็นต้องใช้สารเคมีช่วยในการกำจัดศัตรูพืชมาตลอด ครอบครัวปลูกยางพารา โดยใช้ไกลโฟเซตในการกำจัดวัชพืชในสวนยาง และใช้อย่างปลอดภัย โดยไม่เคยมีกรณีที่เกิดการเจ็บป่วยหรือได้รับอันตรายจากการใช้ไกลโฟเซตแต่อย่างใด จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เกษตรกรมีโครงการที่ดำเนินการด้วยความสามารถและความเข้าใจในการเกษตรที่ประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกัน เช่น การปลูกยางพาราในอำเภอกิ่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ถ้านโยบายของภาครัฐสอดคล้องกับสถานการณ์และความเห็นของเกษตรกรด้วยแล้วก็จะเกิดผลสำเร็จทั้งต่อเกษตรกรและนโยบายของรัฐเอง แต่โดยมากแล้วเกษตรกรไม่ได้ถูกรับฟังหรือมีสิทธิในการเรียกร้องให้มีแนวทางสนับสนุนจากภาครัฐที่สอดคล้องกับความต้องการและไม่มีทางเลือก หากนโยบายล้มเหลว เกษตรกรก็ตกเป็นผู้รับภาระจากผลกระทบที่เกิดขึ้น
นายนิวัติ ปากวิเศษ แสดงข้อมูลความจำเป็นในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการส่งเสริมให้ผู้ใช้มีความรู้ในการจัดการการใช้สารเคมีเกษตรอย่างปลอดภัยตามที่ระบุและแนะนำบนฉลากในแปลงปลูกมะนาวและมะละกอ โดยคำนวณต้นทุนให้เห็นชัดเจนว่า หากมีการจำกัดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชแล้วต้องไปใช้สารเคมีอื่นที่มีราคาแพงกว่า หรือใช้แรงงาน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอย่างแน่นอน โดยเฉพาะ ถ้าใช้แรงงานในการกำจัดวัชพืช ค่าแรงงานที่เพิ่มขึ้นจะคิดเป็นร้อยละ ๕๐ ถึง ๖๐ ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด เมื่อครั้งปี ๒๕๕๐ ที่มีกระบวนการเพื่อนำไปสู่การออกพระราชบัญญัติกองทุนส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรยั่งยืน ซึ่งเรียกร้องให้มีการเก็บภาษีสารเคมีการเกษตรและปุ๋ยเคมีที่จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการเกษตรและขีดความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรไทย โดยเกษตรกรถูกกล่าวหาว่าเป็นฆาตกรของสังคม เนื่องจากผลิตผลการเกษตรที่อาบสารพิษ ซึ่งขัดแย้งกับความเป็นจริง เกษตรกรจึงต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อเท็จจริงเพื่อแสดงให้เห็นกระบวนการผลักดันนโยบายที่มีจุดมุ่งหมายซ้อนเร้นที่ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตร ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้น ได้รับฟังจึงทำให้กระบวนการนี้หยุดไป และเกษตรกรรอดพ้นจากการรับภาระเนื่องจากนโยบายที่อยู่บนความทุกข์ยากของเกษตรกรไทย ดังนั้น เกษตรกรและผู้ที่จะได้รับผลกระทบต้องได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมในการให้ข้อเท็จจริงและข้อมูลแก่ภาครัฐเพื่อนำไปพิจารณาอย่างรอบด้าน
ดร. เมธินี ศรีวัฒนกุล ให้เหตุผลที่ภาคเอกชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ภาครัฐในการกำหนดนโยบายด้านการเกษตรเนื่องจากเป็นผู้มีส่วนได้รับผลกระทบจากนโยบายเช่นเดียวกัน ขอขอบคุณสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ที่รับฟังข้อมูลจากทุกฝ่าย บริษัทมอนซานโต้ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ทำการวิจัยไกลโฟเซตตามหลักการทางวิทยาศาสตร์มาอย่างยาวนาน และดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของจริยธรรม กฎหมาย และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ก็ได้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลด้านความปลอดภัยของไกลโฟเซตต่อหน่วยงานภาครัฐ เพื่อนำไปพิจารณาอย่างรอบคอบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐกว่า ๑๖๐ ประเทศได้พิจารณาข้อมูลวิทยาศาสตร์และได้ให้ความเห็นตรงกันว่า ไกลโฟเซตมีความปลอดภัย และอนุญาตให้ใช้ได้ตามที่ได้กำหนดบนฉลาก เพื่อการจัดการที่เหมาะสมสำหรับความเป็นพิษระดับต่ำ บริษัทมอนซานโต้ ได้ให้ข้อมูลความปลอดภัยของไกลโฟเซตต่อหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทยเช่นเดียวกัน และได้เข้าร่วมประชุมและให้ข้อมูลในการประชุมรับฟังความเห็นใน ๔ ภูมิภาค (เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี ขอนแก่น และกรุงเทพมหานคร) ซึ่งแต่ละแห่งมีเกษตรกร นักวิชาการ และภาคเอกชน เข้าร่วมประชุม โดยส่วนใหญ่ให้ความเห็นตรงกันในข้อมูลด้านความปลอดภัยและผลกระทบหากจำกัดการใช้สารไกลโฟเซต และยกเลิกการใช้สารเคมีชนิดอื่นโดยไม่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์รองรับ และยังไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า หากแต่หลายครั้งมีการกล่าวอ้างการมีส่วนร่วมของบริษัทเอกชน เช่น บริษัทมอนซานโต้ เป็นการปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทเท่านั้น เพื่อการผูกขาดทางการค้า ซึ่งมิได้เป็นความจริงแต่อย่างใด เนื่องจากบริษัทมอนซานโต้ มิใช่บริษัทผู้ผลิตไกลโฟเซตรายเดียวหรือรายใหญ่ของประเทศไทย การสร้างความหวาดระแวงนี้เองทำให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงจากภาคเอกชนไม่ได้รับการรับฟังเท่าที่ควร และสกัดกั้นการสนับสนุนให้เกิดการร่วมมือภาครัฐ-เอกชนในด้านการลงทุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งในการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อเกษตรกร การสร้างความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องและหวาดระแวงเช่นกรณีของไกลโฟเซตนี้ นอกจากจะส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อภาคเกษตรแล้ว ผู้บริโภคเองก็อาจได้รับผลกระทบจากการจำกัดการใช้ไกลโฟเซตด้วย เช่น อาหารอาจมีราคาแพงขึ้นเนื่องจากมีต้นทุนสูงขึ้น นอกจากนี้ อาจมีการตกค้างจากสารเคมีที่ไม่ได้มาตรฐานซึ่งมีการนำเข้ามาขายในตลาดมืด เช่นตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศศรีลังกา ซึ่งรัฐบาลยกเลิกการใช้ไกลโฟเซตโดยไม่มีหลักวิทยาศาสตร์รองรับ และแม้ว่าคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องได้ให้ข้อมูลแล้วว่า ไกลโฟเซตเป็นสารที่ปลอดภัย
ข้อคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม
นักวิชาการ และเกษตรกรผู้เข้าร่วมประชุมได้ให้ความเห็นดังนี้
๑) การปล่อยข้อมูลหรือข่าวที่เป็นการบิดเบือนข้อมูลและส่งผลให้เกิดการตื่นตระหนกในสังคมเป็นอันตรายอย่างยิ่ง การกระทำเช่นนี้ ผู้บิดเบือนข้อมูลหรือปล่อยข่าวควรต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งทางกฎหมาย และจริยธรรม
๒) เกษตรกรจังหวัดราชบุรี ชี้แจงในที่ประชุมว่าได้ถูกกล่าวหาจาก ไทย-แพน ว่า ผลผลิตหลายชนิดจากจังหวัดราชบุรี มีสารเคมีตกค้างปริมาณมาก ซึ่งเกษตรกรได้นำผลผลิตตามที่ได้มีการกล่าวอ้าง ไปตรวจวิเคราะห์แล้ว พบว่าไม่มีสารตกค้างในปริมาณมากตามที่กล่าวอ้าง เกษตรกรจึงต้องการทราบข้อมูลว่า ไทย-แพน ได้ตัวอย่างมาจากที่ใด และตรวจวิเคราะห์จากไหน อย่างไร เพราะการให้ข้อมูลที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ผลิตอย่างมาก
ข้อเสนอแนะจากที่ประชุมเพื่อแก้ไขปัญหา
๑) รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และจัดทำรายงานการประชุมสัมมนาเรื่อง “การจำกัดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ทำไม? ใครได้-ใครเสีย? มีทางออกหรือไม่?”
๒) นำเสนอข้อมูลและเสนอข้อคิดเห็นเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โปรดพิจารณาพิจารณาทบทวนนโยบายและมาตรการการบริหารจัดการสารกำจัดวัชพืช ดังนี้
๒.๑) ทบทวนและยับยั้งข้อเสนอการจำกัดการใช้หรือยกเลิกสารกำจัดศัตรูพืช จากข้อเสนอของคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง กระทรวงสาธารณสุข จนกว่าจะมีรายงานการศึกษาโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดชัดเจน และเผยแพร่สื่อสารให้สาธารณชนโดยเฉพาะเกษตรกรรับทราบและร่วมแสดงความเห็นต่อรายงานดังกล่าว เพื่อให้ขั้นตอนการดำเนินงานเป็นไปด้วยความชอบธรรม โปร่งใส และไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและความเชื่อมั่นในผลผลิตทางการเกษตรของไทย
๒.๒) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นเจ้าภาพในการกำหนดนโยบายการเกษตรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเฉพาะเกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอข้อคิดเห็น
*****************************************