ยันต์กันเพลี้ยกระโดด
ยันต์กันเพลี้ยกระโดด
ยกเครื่องเรื่องสารกำจัดศัตรูพืช
สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร
ข้าว เป็นสัญลักษณ์ความยิ่งใหญ่แสนภาคภูมิใจของประเทศไทย ในฐานะผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลกต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 3 ทศวรรษที่ผ่านมา
สิ่งท้าทายความยิ่งใหญ่ของประเทศไทย กลับเป็นแมลงศัตรูต้นข้าวตัวเล็กๆ เรียกขานว่า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Brown Planthopper) ที่ระบาดรุนแรงสร้างความเสียหายแก่นาข้าวตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมา จนระบาดรุนแรงสร้างความเสียหายแก่นาข้าวตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมา จนกล่าวได้ว่า เป็นภัยธรรมชาติร้ายกาจที่เอาไม่อยู่ตลอดมา
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงปากดูด เมื่อดูดเกินน้ำเลี้ยงจากต้นข้าวทำให้ต้นข้าวเกิดอาการใบเหลืองแห้ง คล้ายน้ำร้อนลวก หากระบาดหนักจะเห็นนาข้าวแห้งตายสุดลูกหูลูกตา
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดไม่หยุด คือการทำนาต่อเนื่อง โดยไม่หยุดพักดิน ทำให้เพลี้ยฯ มีต้นข้าวเป็นอาหารอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี หากตัดวงจรโดยเว้นทำนาต่อเนื่องอย่างทุกวันนี้ ห่วงโซ่อาหารของเพลี้ยฯก็จะสะบั้นลง การขจัดเพลี้ยฯ ก็กระทำได้โดยง่าย
ในขณะประเทศอ้างสิทธิเสรีในการทำนา โดยมีเพลี้ยฯ ระบาดสร้างความเสียหายมากมาก เพื่อนบ้านอาเซียนและคู่แข่งสินค้าข้าวอย่างเวียดนามสามารถปราบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอยู่หมัด ด้วยการห้ามทำนาอย่างต่อเนื่องเท่านั้น
เมื่อห้ามด้วยกฎหมายไม่ได้ การกำจัดเพลี้ยฯ จึงต้องอาศัยหลายวิธี เช่น การปล่อยให้น้ำท่วมขังในนาข้าว เพื่อป้องกันเพลี้ยฯ ไม่ให้กัดกินน้ำเลี้ยงจากต้นอ่อนข้าว การใช้พันธุ์ข้าวที่ด้านทานต่อเพลี้ยฯ มากกว่า พันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 หรือพันธุ์ชัยนาท 1 การหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวนาน้ำตมในปริมาณแต่น้อยเพื่อไม่ให้ต้มข้าวขึ้นเบียดเสียด เป็นแหล่งอาศัยชั้นดีของเพลี้ยๆ การใช้แสงไฟล่อจับเพลี้ยฯ การใช้เครื่องดูดเพลี้ยฯ กระทั้งการใช้สารกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
กระบวนการกำจัดเหล่านี้ อยู่ในลักษณะต่างคน ต่างคิด ต่างคน ต่างทำและส่วนใหญ่ทำตามกันไปโดยไม่รู้
โดยสรุป องค์ความรู้เรื่องเพลี้ยฯ และการจัดเพลี้ยแทบเป็นศูนย์ก็ว่าได้ เฉพาะการใช้สารเคมีกำจัดเพลี้ยกระโดดสีตาล ซึ่งถือเป็นกระบวนการหนึ่งที่สามารถ “เอาอยู่” แต่เมื่อความรู้เรื่องเพลี้ยฯ ขาดๆ เกินๆ กลับส่งผลให้การระบาดของเพลี้ยฯ รุนแรงยิ่งขึ้น เพราะสารเคมีกำจัดเพลี้ยกระโดสีน้ำตาลกว่า 10 ชนิด ไม่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยฯ หนำซ้ำทำให้เพลียฯระบาดหนักขึ้นด้วย แต่ชาวนาก็ยังใช้โดยไม่รู้ เสียทั้งเงิน ทั้งเวลา โอกาส ผลผลิตที่เฝ้าฟูมฟัก และกำลังใจ
จึงไม่แปลกที่ชาวนาในพื้นที่สุพรรณบุรีและหลายจังหวัด แห่กันไปขอยันต์ธงกันเพลี้ยกระโดสีน้ำตาลจากหลวงพ่อวัดการ้อง ต.สวนแตง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี นับพัน นับหมื่นๆ ผืน หลวงพ่อรับว่าไม่ได้มีเจตนาให้งมงาย แต่ที่วัดจัดทำมา 2 ปีแล้ว เพื่อให้เกษตรกรมีที่ยึดเหนี่ยวทางใจ จะได้มีสมาธิในการประกอบอาชีพเท่านั้นเอง
สอดรับกับคำให้การของชาวนาที่ระบุว่า เผชิญปัญหาเพลี้ยฯระบาดทุกปี เมื่อเอาไม่อยู่และไม่มีอะไรจะเสียก็ต้องหาที่พึ่ง จะเป็นยันต์หรืออะไรก็ได้ แปลงนาหลายแห่งจึงมียันต์ธงปักล้อมได้แต่ไกล
นี่คือชาวนาไทยผู้ยิ่งใหญ่ ผู้สั่งสมสถิติโลกด้วยการปลูกข้าวส่งออกเป็นอันดับ 1 ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา วันนี้สิ่งที่พวกเขาพึ่งพาได้กลับเป็นยันต์ธงของหลวงพ่อ หาใช่ความรู้ด้านวิชาการเกษตรที่มีคุณค่ากำจัดเพลี้ยฯแต่ประการใด